โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 73 – การวัดผลความดันโลหิต (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 กรกฎาคม 2567
- Tweet
ในการศึกษาเล็กๆ ครั้งหนึ่ง พบว่า “ค่าที่วัดได้ มีความใกล้เคียงกับ” ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) ที่แพทย์ตรวจวัด (Monitor) ในการศึกษาขนาดใหญ่กว่า ก็พบว่า เครื่อง (Device) วัดความดันโลหิตในร้านบางแห่ง จำแนกคนที่มีโรคความดันโลหิตสูงผิดไป (Misclassified) จากปรกติ (Normal) เพียง 16%
โดยเฉลี่ย (Average) แล้ว ความแตกต่างของเครื่องวัดความดันโลหิตในร้านเหล่านี้และค่าความดันโลหิตจริงๆ มีเพียง 4.4 หน่วย อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดความดันโลหิตในร้านอยู่นอกขอบเขต (Range) ของความแปรปรวน (Variability) ที่ยอมรับ (Accept) ในมาตรฐาน (Standard) ความแม่นยำ จึงไม่ควรเป็นวิธีการเดียว (Sole means) ในการตรวจวัดและติดตามความดันโลหิต
นี่ไม่ได้แสดง (Imply) ว่าเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self-check) ไม่มีประโยชน์ (Useful) ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเครื่องวัดความดันโลหิตในสถานที่สาธารณะ (Public) ช่วยเพิ่มการตรวจวัดด้วยตนเองและอัตราการตรวจพบ (Detection rate)
ในการศึกษาในอังกฤษ 29% ของผู้ที่ตรวจวัดด้วยตนเอง มีความดันโลหิตเกินเป้าหมายและได้รับการอ้างอิงไปพบแพทย์ การตรวจวัดด้วยตนเองอาจจะไม่ใช่วิธีการ (Means) ที่แม่นยำ (Accurate) ที่สุด แต่อาจช่วยคัดกรอง (Screen) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถซื้อแบบมัด (Cuff) ได้และ/หรือไม่ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอได้
ความรู้เรื่องการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) ของตนเอง ก็ไม่รับประกัน (Guarantee) ว่าจะมีการควบคุมอย่างเพียงพอ (Adequate) แค่ 48% ของผู้ใหญ่ที่ทราบว่า ตนเป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มีความดันโลหิตอยู่ในเป้าหมาย
แต่ตัวเลขลดน้อยลงที่ 33% สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 39 ปี เหตุผลที่การควบคุมความดันโลหิตไม่ดี (Poorly controlled) มีหลายปัจจัย (Multiple) และบางส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม (Behavior) ที่ต้องการความเคร่งครัด (Adherence) ในการใช้ยา (Medication)
การที่จะรับประทานยาพร้อมอาหารเช้าหรืออาหารเย็นดูเหมือนจะง่าย แต่บางครั้งก็ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะเหตุผลมากมาย 1 ใน 4 ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ยาควบคุมความดันโลหิต ไม่ได้เติมยา (Refill) ตามใบสั่งแพทย์ครั้งแรก (Initial prescription) โดยที่ในช่วงปีแรกของการรักษา ผู้ป่วยโดยเฉลี่ยมียาควบคุมความดันโลหิตในมือได้เพียง 50% เท่านั้น
ที่แย่กว่านั้นก็คือ มีผู้ป่วย 25 ถึง 50% ของผู้มีโรคความดันโลหิตสูงควบคุมได้ไม่ดี ซึ่งดูเหมือน (Appear) จะไม่ได้ตอบสนอง (Unresponsive) ต่อการรักษา แต่จริงๆ แล้วก็เพียงแค่ไม่ปฏิบัติตาม (Compliant) คำสั่งในการกินยาของพวกเขาเท่านั้น
คาดว่า การรักษาความดันโลหิต จากการกินยาจริงๆ สามารถลดลงเหลือน้อยกว่า 2% หากมีการปฏิบัติตาม (Adhere) คำสั่งกินยาอย่างเคร่งครัด (Strictly)
ถ้าความดันโลหิตสูง (Elevated) ถือเป็นอันตราย (Dangerous) อย่างมาก ทำไมบางคนไม่กินยาเพื่อช่วยควบคุมมัน อุปสรรค (Barrier) หนึ่งคือค่าใช้จ่าย ด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic) ที่เข้าใจได้ (Understandable)
แหล่งข้อมูล –